ข่าวกิจกรรม โครงการข่าวภารกิจผู้บริหารกับหน่วยงานภายนอก

รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบิดาฝนหลวง 14 พฤศจิกายน 2566

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุมาศ พรหมเทศ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พร้อมคณะผู้บริหาร วางพานพุ่มหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งฝนหลวง 14 พฤศจิกายน

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 07.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุมาศ พรหมเทศ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์เกียรติ ภูกองพลอย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธพงษ์ นาคโสภณ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาท้องถิ่นและกิจการพิเศษ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ดร.แพรวนภา เรียงริลา รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ร่วมวางพานพุ่มหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งฝนหลวง มีนายบุญเติม เรณุมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเลยร่วมพิธี ณ ศาลาประชาคมอำเภอเมืองเลย หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

ความเป็นมาของวันที่ 14 พฤศจิกายน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น อันกอปรด้วยพระอัจฉริยภาพ พระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล พระราชอุตสาหะวิริยะและการที่ทรงสละเวลาส่วนพระองค์แม้ในยามดึกดื่นค่ำคืนอย่างเหน็ดเหนื่อยตรากตรำ พระวรกายมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเยือนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 พบว่าราษฎรเดือดร้อนพืชผลเสียหายจากทั้งฝนแล้งและน้ำท่วม ทรงเกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาทุกข์ร้อนของราษฎรในขณะนั้น ”สมควรที่จะสร้างฝายหรือเขื่อนขนาดเล็ก (Check dams) และอ่างเก็บน้ำจำนวนมากขวางทางน้ำ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงการไหลบ่า และเก็บกักน้ำไว้ในฤดูแล้งเป็นการบรรเทาสภาวะแห้งแล้งได้ทางหนึ่ง” ทรงเกิดประกายความคิดด้วยความมั่นพระทัยว่าน่าจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เกิดฝนได้ และน่าจะมีวิธีการที่จะรวมเมฆที่กระจายอยู่ในท้องฟ้าแต่ลอยผ่านพื้นที่แห้งแล้งไปหมดดังที่ทรงสังเกตเห็น ในขณะนั้นให้เมฆเหล่านั้นรวมตัวกันเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นที่แห้งแล้งดังกล่าวได้ อันเป็นเป็นต้นกำเนิดของแนวพระราชดำริที่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” ในปัจจุบัน

คลิกชมภาพ

kanok namkhanthi

facebook.com/namkhanthi