ม.ราชภัฏเลย แถลงข่าว”อาหารดีมีสุข” พัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารรายใหม่ ด้วยแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จัดแถลงข่าว “อาหารกินดีมีสุข” โครงการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารรายใหม่ ด้วยแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอาหารกินดีมีสุข (Well-being Gastronomy Tourism) สู่การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
วันที่ 11 ธันวาคม 2567 เวลา 14.00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จัดแถลงข่าว“อาหารกินดีมีสุข” โครงการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารรายใหม่ ด้วยแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอาหารกินดีมีสุข (Well-being Gastronomy Tourism) สู่การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา โดย ดร.จักรกฤษณ์ พงษ์อินทร์วงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผนและกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กล่าวเปิด มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณี พฤกษา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์โครงการ
ดร.จักรกฤษณ์ พงษ์อินทร์วงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผนและกิจการพิเศษ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สำคัญและเสริมสร้างรายได้ของผู้ประกอบการและชุมชน ทำให้ชุมชนมีกินหรือกินดี เสริมสร้างสังคมที่น่าอยู่หรือทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มหาวิทยาลัยยังมีบทบาทที่สำคัญในด้านการอนุรักษ์และเชิดชูศิลปวัฒนธรรม และรักษาดูแลสิ่งแวดล้อม โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาการ งานวิจัยของอาจารย์ และการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในรูปแบบการบริการวิชาการ ผ่านกิจกรรมในโครงการต่างๆ เพื่อดำเนินการตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนโลก ขององค์การสหประชาชาติ หรือ SDGs ด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยได้รับงบประมาณจากโครงการงบบูรณาการ Flagship project ปีงบประมาณ 2567 จากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการบริหารโครงการแบบเห็นผลแบบฉับพลัน หรือ Quick Win เพื่อก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณี พฤกษา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ กล่าวว่า โครงการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารรายใหม่ ด้วยแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงอาหารกินดีมีสุข (Well-being Gastronomy Tourism) สู่การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารกินดีมีสุข (Food Well-being) จากรายการอาหารที่เป็นอัตลักษณ์ในพื้นที่ 3 อำเภอที่เป็นเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย ได้แก่ อำเภอเมืองเลย อำเภอเชียงคาน และอำเภอด่านซ้าย อย่างน้อย 9 รายการ และเพื่อยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา 1 ประเภท พัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารรายใหม่ (Innovative Food) ที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในจังหวัดเลยอย่างน้อย 6 ราย เพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารกินดีมีสุขใน 4 มิติ ได้แก่ สุขภาพทางกาย (Physical Well-being) สุขภาพใจ (Mind Well-being) สังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Well-being) และปัญญา หรือความรอบรู้ทางโภชนาการ (Wisdom Well-being) ที่สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว จำนวน 6 กิจกรรม และสื่อสร้างสรรค์ที่ช่วยสร้างการรับรู้ และกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงอาหารกินดีมีสุข (Well-being Gastronomy Tourism) รวมทั้งการสร้างการรับรู้และส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารให้กับนักท่องเที่ยวผ่านการจัดนิทรรศการ จำนวน 1 ครั้ง และเผยแพร่กิจกรรมผ่านสื่อสร้างสรรค์ช่องทางการตลาดออนไลน์ จำนวน 2 ช่องทาง และเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ผู้ประกอบการผ่านการอบรมให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการ 1 ครั้ง โดยดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม 2567
ภายในงานมทีการเสวนา คุณค่าจากต้นทางของอาหาร สู่การเพิ่มมูลค่าถึงปลายทางของผู้ประกอบการ มีนายไพรินทร์ ลิ่มเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นางอุไรพร ชมภูคำ รองหัวหน้ากลุ่มงานเศรษฐกิจสุขภาพ สสจ.เลย นายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย นายวรวิทย์ อุ่นจิตร พนักงานการตลาด 6 ททท. สำนักงานเลย นางสาวเบญจมาภรณ์ ฉัตรคำ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดเลย ร่วมเสาวนา ณ โรงแรมมาร์เบิ้ลอาร์ชเดอเลย อ.เมือง จ.เลย
คลิกชมภาพ บรรยากาศแถลงข่าว ภาพอาหารร่วมโครงการ