ข่าวภารกิจผู้บริหารกับหน่วยงานภายนอก

ผู้บริหาร มรภ.เลย ร่วมสักการะรัชกาลที่ 9 เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยิ่งศักดิ์ คชโคตร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมวางพานดอกไม้สดสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

วันที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 07.00 น. พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระศักดิ์ เชี่ยวเวทย์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฏหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เหมวดี กายใหญ่ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.อุเทณ วชิระวชิโณส ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และนายชัยวิชิต ฉิมลี ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา ร่วมพิธีวางพานดอกไม้สดสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ โดย นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดเลย ร่วมพิธี ณ หอประชุมอาชีวศึกษาเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย

เนื่องมาจากเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันฝีมือช่างแห่งชาติ ครั้งที่ 1 โดยกรมแรงงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพ การเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้น แสดงให้เห็นถึงพระราชหฤทัยในการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่างไทย ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชดำรัสว่า

” ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของบ้านเมืองและของคนทุกคนเพราะตลอดชีวิตของคนเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาจากฝีมือของช่างอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่างจึงสมควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุก ๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน วิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้ายิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษเพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการ ในการส่งเสริมนั้น มีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่สามประการ
– ประการแรก ได้แก่ ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ
ประการที่สอง ได้แก่ ปัญหาเรื่องฝีมือซึ่งต้องปรับปรุงให้มีความประณีตและประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริงๆ
– ประการที่สาม ได้แก่ ปัญหาเรื่องการจัดหางานและหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาดที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่าย
การช่วยเหลือทั้งสามประการนี้จะต้องการทำให้สอดคล้องกันไป เพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไรสำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐานะและความก้าวหน้า ข้าพเจ้า ใคร่ “

คลิกชมภาพ

kanok namkhanthi

facebook.com/namkhanthi