สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม วจ. อบรมหลักสูตร การจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผู้ประกอบการ
ดร. จักรกฤษณ์ พงษ์อินทร์วงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน และกิจการพิเศษ เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมหลักสูตร การจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism Management) ภายใต้โครงการ ผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต ตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non Degree)
วันที่ 17 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. สาขาวิขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ จัดการอบรม หลักสูตร การจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism Management) ภายใต้โครงการ ผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต ตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non Degree) โดย ดร. จักรกฤษณ์ พงษ์อินทร์วงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน และกิจการพิเศษ เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์เหมวดี กายใหญ่ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ และตัวแทนคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตร กล่าวรายงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เหมวดี กายใหญ่ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ และตัวแทนคณะกรรมการดำเนินงานหลักสูตร กล่าวว่า สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ จัดทำหลักสูตร การจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism Management) ประเภทประกาศนียบัตร (Non Degree) ดำเนินการภายใต้โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม New S-curve เพื่อพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี โดยจะเป็นหัวใจหลักของกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย โดยเน้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สอดคล้องกับแนวโน้มการท่องเที่ยวแบบ New Normal และ Next Normal รวมถึงทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ออกแบบและจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ตามมาตรฐานที่กำหนด มีคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การเรียนการสอนในหลักสูตรทั้งหมด 285 ชั่วโมง มีผู้เข้าเรียนแบ่งเป็นผู้ประกอบการ กลุ่มที่มีงานทำแล้ว และกลุ่มผู้ว่างงาน รวมทั้งหมด 30 คน โดยจัดการเรียนการสอนทุกวันศุกร์-อาทิตย์ และมีกิจกรรมระหว่างสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน ถึง 11 กันยายน 2565 รวมทั้งสิ้น 3 เดือน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
การเปิดการอบรม จัด ณ ห้องประชุมชั้น 9 อาคาร 19 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย